รายการพระเครื่อง
พระบูชา
พระเนื้อผง เนื้อดินทั่วไป
พระปิดตา
พระรูปหล่อ รูปเหมือน
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
เหรียญพระเกจิอาจารย์ทั่วไป
เหรียญรัชกาลที่ระลึก
จตุคาม รามเทพ
เครื่องราง ของขลัง
ของเก่าสะสม อื่นๆ
นานาสาระ
แขวนพระถูกโฉลกประจำวัน
พลอยประจำวันเกิด
พลอยประจำเดือนเกิด
กริ่ง ลป.เริ่ม วัดจุกกะเฌอ
   

 

 


 


webmaster

จำนวนผู้เยี่ยมชม
hit counter








 
บทความ >> กริ่งปรโม ลป.เริ่ม วัดจุกกะเฌอ ศรีราชา ชลบุรี
ลป.เริ่ม ปรโม
หลวงปู่เริ่ม ปรโม (๗) โดย อ.เล็ก พลูโต
ส่วนท่านที่ต้องการจะนำติดตัวไว้เป็นประจำ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และคุ้มครองป้องกันตัวตลอดเวลาแล้ว หลวงพ่อเริ่มท่านก็ได้สร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ ปรโม ซึ่งมีขนาดเล็กไว้ เพื่อสำหรับติดตัวได้ทั้งหญิงและชาย พระกริ่งพระชัยวัฒน์ และพระบูชาประจำตระกูลซึ่งผม (ชินพร สุขสถิตย์) เป็นผู้ดำเนินการสร้างโดยความเห็นชอบของหลวงพ่อเริ่ม มีรายละเอียด และจำนวนการสร้างที่ถูกต้องแน่นอน ดังนี้

๑.ลงแผ่นพระยันต์ ๑๐๘ และ ๑๔ นะ ตามตำรับโบราณกาลที่ตกทอดมาครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาครบถ้วนถูกต้องทุกประการ
๒. แผ่นพระคาถาชินบัญชร ๒ แผ่น ลงเป็นภาษาไทย และขอม โดยหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ และแผ่นยันต์พัดโบก และวิชาการต่าง ๆ ของหลวงพ่อเริ่ม
๓. ชนวนพระกริ่งเก่า ๆ มีชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ รุ่นฉลองพระชนม์ ปี ๒๔๘๓, ชนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์, ชนวนพระชัย ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม, ชนวนพระกริ่งชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม อิสริโก ระยอง, พระเกศเก่าของหลวงพ่อมงคลบพิตร อยุธยา, เหรียญ ร.๕ ซึ่งหลวงปู่ทิมปลุกเสกไว้นานแล้ว, ชนวนพระพุทธศิรากาศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงเททองในวันเกิดหลวงปู่แหวน เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗ ซึ่งผมไปเก็บทองชนวนที่สันปากเบ้าด้วยตัวผมเอง
๔. ผงตะไบทองพระเกศ พระพุทธรูปหล่อ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่พุทธมณฑล ซึ่งนายช่างของกรมศิลปากรแบ่งมาให้
๕. เศษตะไบอนุสาวรีย์ทั่วประเทศ ซึ่งคุณอนันต์ นายช่างศิลปของกรมศิลปากรมมอบให้
๖. ห่วงเหรียญพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ซึ่งร้านเลี่ยมพระมอบให้ ซึ่งผ่านการปลุกเสกมาพร้อมกับเหรียญนั้น ๆ แล้ว
๗. โลหะจากพระพุทธรูปเก่า ๆ ตะกรุดเก่า ๆ และที่ไม่ทราบสำนักอีกเป็นจำนวนมาก และตะกรุดมหานิทรา ของหลวงปู่ทิม ตะกรุดมหาระงับ ของหลวงพ่อนิด วัดทับมา
๘. ยอดโลหะประสาทจากวัดพระแก้ว และเศษยอดปราสาทสมัยโบราณอีกหลายชิ้น
๙. แร่บางไผ่ ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ตะกรุดเงินของหลวงปู่บุญ และเศษโลหะของหลวงปู่บุญ สำหรับแร่บางไผ่ของหลวงปู่บุญนั้น คุณปัญญา สุขสถิตย์ เป็นผู้มอบให้ ปรากฏว่า หลอมแล้วไม่ละลาย จนต้องตักขึ้นเก็บไว้
พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ปรโม ได้ประกอบพิธีหล่อตามแบบโบราณ ณ ลานวัดจุกกะเฌอ เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อเริ่มได้ปลุกเสกเดี่ยว ๕ วัน ๕ คืน
พระกริ่งปรโม ถอดแบบจาก พระกริ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ถัง ประเทศจีน โดยถอดโดยตรงจากองค์ต้นแบบ เนื้อนวโลหะกลับดำ เม็ดกริ่ง หรือ ผลคุณ ซึ่งใช้บรรจุในองค์พระ สร้างจากผงวิเศษต่าง ๆ ของหลวงพ่อเริ่ม ของหลวงปู่ทิม และของพระอาจารย์ในอดีตองค์สำคัญ ๆ ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ทราบกันดี นำมาบดผสมกัน ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ บรรจุในองค์พระกริ่ง แล้วหุ้มก้นด้วยฝาบาตร ตบุ๋มเป็นแอ่งกะทะ แบบพระกริ่งก้นถ้วยของวัดสุทัศน์ โดยมีจำนวนการสร้างที่แน่นอนแล้ว ดังนี้
๑.     พระกริ่งปรโม พร้อมพระชัยวัฒน์
๒.     พระบูชาประจำตระกูล
พระกริ่งปรโม ซึ่งถอดแบบจากพระกริ่งใหญ่องค์จริง สร้างทั้งหมด ดังนี้
๑. เนื้อทองคำ สร้าง ๑๕ องค์ ตอกหมายเลข ๑- ๑๖ (ยกเว้นหมายเลข ๑๓)
๒. เนื้อนวโลหะ สร้างทั้งหมด ๓,๐๖๖ องค์ แยกเป็นพิเศษตามการหุ้มก้น ดังนี้
๒.๑ เนื้อนวโลหะหุ้มก้นด้วยทองคำ ๑๘ องค์ ตอกหมายเลข ๑-๑๙ (ยกเว้นหมายเลข ๑๓) ซึ่งเดิมประกาศจะสร้าง ๘๐ ชุด แต่มีผู้จองน้อย จึงสร่างเท่าที่จำนวนสั่งจองคือ ๑๘ ชุด
๒.๒ เนื้อนวโลหะหุ้มก้นฝาบาตร สร้างจำนวน ๒,๒๘๐ ชุด (พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์) พระกริ่งตอกหมายเลข ๑- ๒๒๘๐ ไว้ที่ฐานด้านหลังขององค์พระ และตอกโค๊ดตัว ร. ไว้ที่ด้านหลัง เหนือฐานชั้นบน เยื้องปลายสังฆาฏิมาทางขวามือ
๒.๓ เนื้อนวโลหะก้นหุ้มเงิน เดิมประกาศจะสร้าง ๒๘๐ องค์ มีผู้สั่งจองน้อยมาก เพราะตั้งราคาไว้สูงถึงชุดละ ๑,๖๐๐ บา ซึ่งลดจำนวนลง สร้างเพียง ๑๘๐ ชุด พระกริ่งตอกหมายเลข ๑-๑๘๐ ตัวเลขตอกไว้ด้านหลัง ส่วนโค๊ด ร. ตอกไว้ที่ปลายสังฆาฏิด้านหลัง เยื้องไปทางซ้ายมือ
๒.๔ เนื้อนวโลหะก้นหุ้มนวโลหะพิเศษ ซึ่งนำชนวนพระกริ่งชินบัญชรที่เหลือทั้งหมด และชนิดพระกริ่งรุ่นฉลองพระชนม์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นรุ่นที่หายากที่สุด เพราะสร้างน้อยมาก มาหลอมรวมกัน แต่นำมาหุ้มก้น สร้างทั้งหมด ๓๒๘ ชุด ให้บูชาชุดละ ๙๐๐ บาท ตอกเลข ๑-๓๒๘ ตัวเลขตอกตำแหน่งเดียวกัน แต่โค๊ดตัว ร. ตอกไว้ที่ฐานชั้นบน เหนือตัวเลขขึ้นมาเล็กน้อย
๒.๕ เนื้อนวโลหะก้นอุดผง เนื่องจากพระกริ่งชุดนี้หล่อที่ลานวัดจุกกะเฌอทั้งหมด ดังนั้นผู้รับสร้างจึงหล่อมากกว่าที่สั่งเพื่อกันเสียไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อจัดจำนวนพระกริ่งตามลักษณะหุ้มก้นดังกล่าวแล้ว จึงมีพระเหลืออีกถึง ๒๗๐ องค์ และพระชัยวัฒน์อีก ๒๐๒ องค์ พระกริ่งจำนวน ๒๗๐ องค์นี้ ได้นำมาอุดผงพุทธคุณของหลวงพ่อเริ่ม รวมกับผงหลวงปู่ทิม โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน
ก. จำนวน ๒๐๒ ชุด ได้มอบให้ คุณมาโนช เหล่าขวัญสถิตยฺ เจ้าของภัตตาคารนาวาชายหาด อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี คุณมาโนชได้นำไปอุดผงพุทธคุณของหลวงปู่ทิม หลวงพ่อเริ่ม และหลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง ตอกหมายเลข ๑-๒๐๒ ไว้ตามลำดับทุกองค์ ส่วนโค๊ดตัว ร. ตอกไว้ที่ฐานด้านหลังขวามือสุด
ข. ส่วนที่เหลืออีก ๖๘ องค์ ผมผู้สร้างได้นำผงพุทธคุณหลวงปู่ทิมที่ผมมีอยู่ทุกชนิด รวมกับผงเก่าที่ได้มาจากทรวงอกเบื้องซ้ายของพระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่ เมื่อพบใหม่ ๆ เป็นผงที่คุณปฐม อาจสาคร ให้มา บอกเป็นผงในหัวใจพระทองคำที่ใคร ๆ ไม่สนใจ เมื่อกะเทาะปูนหุ้มพระองค์นี้ออก และได้นำผงนี้เป็นส่วนของผงซึ่งสร้างเป็น พระกริ่งปรโม ผงปฐวีธาตุ มาผสมแล้วอุดก้น และได้นำผงกลม ๆ เล็ก ๆ ซึ่งจะกดพิมพ์เป็นพระปรกใบมะขาม ตั้งแต่สมัยหลวงปู่ทิมมาอุดไว้ด้วย ตอกโค๊ดไว้ที่ฐานชั้นบนซ้ายมือสุด และตอกเลข ๗๙ และ ๘๐ เท่าจำนวนปีของหลวงพ่อเริ่ม และบวกอีก ๑ เป็น ๘๐
๓. พระกริ่งปรโมเนื้อพิเศษ คือ เอาชนวนพระกริ่งชินบัญชร และชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ รุ่น ๒๔๘๓ มารวมกัน เทเป็นพระกริ่งปรโมได้ ๔ องค์ พระชัยวัฒน์ ๑๒ องค์ รวม ๑๖ องค์ (เท่ากับเลขโสฬส) เนื้อแก่ทองคำ ใช้แล้วกลับดำเป็นเงา
๔. พระกริ่งปรโมเนื้อปฐวีธาตุ  สร้างจำนวน ๑๐๘ องค์
เมื่อผมดำริที่จะสร้างพระกริ่งปรโมถวายหลวงพ่อเริ่ม จึงได้หารือกับพรรคพวกเพื่อนฝูงหลายคนหลายฝ่ายด้วยกัน และก็ได้ของมงคลต่าง ๆ อย่างมากมายดังที่ได้กล่าวไว้
ครั้นเมื่อผมได้พระกริ่งใหญ่มาเป็นต้นแบบพระกริ่งปรโมแล้ว อาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์ นายช่างสิบหมู่ของกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นที่ปรึกษาคนหนึ่งของผม กับ อาจารย์เบิ้ม ประตูน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นผู้ลงเหล็กจารพระยันต์ ๑๐๘ และ นะ ๑๔ ตามตำรับการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ต้นกำเนิดตำราสร้างพระกริ่งแห่งประเทศไทย จึงปรึกษากันว่า เมื่อแบบองค์พระกริ่งถอดจากพระกริ่งใหญ่แล้ว น่าจะหาวัตถุมงคลอันได้แก่ ทรายเสก ของพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมรุ่นเก่า ๆ ที่มีชื่อ มาสร้างเป็นพระกริ่งผงในพิธีนี้ด้วย ดังนั้น ท่านที่กล่าวนามทั้งสองท่าน จึงได้เสาะแสวงหาวัตถุต่าง ๆ อันได้แก่ ทรายเสก ๓๒ อาจารย์ และของวิเศษต่าง ๆ มาป่นด้วยเครื่องจักร จนเป็นผงละเอียดคล้ายแป้ง แล้วผสมอีฟ๊อกซี่ โลหะประสานเหล็ก กดเป็นองค์พระกริ่งปรโมขึ้นจำนวน ๑๐๘ องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย โดยอาจารย์อนันต์ได้บันทึกการส่วนผสมสร้างไว้ดังนี้
พระเศียร บรรจุพระธาตุ (วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง) ได้รับมอบจาก หลวงพ่อเกษม เขมโก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖
พระศอ บรรจุแกน หลอมจากตะกรุดเก่า ๆ หลายสิบชนิด เพื่อกันหัก
ผลคุณ (เม็ดพระกริ่ง) ชนวนพระมงคลบพิตร อยุธยา, ชนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ พิษณุโลก, ชนวนพระพุทธราวดี นครปฐม, ชนวนพระกริ่งชินบัญชร
                ทรายเสก ของพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม ๓๒ องค์ คือ ๑. ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดโมลีโลกยาราม (ท้ายตลาด) ธนบุรี, ๒. ท่านเจ้าคุณทักษิณคณิศร วัดอินทาราม ธนบุรี, ๓. ท่านเจ้าคุณพรหม วัดกัลยาณ์ฯ ธนบุรี, ๔. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์, ๕. หลวงปู่ชู วัดนาคปรก ธนบุรี, ๖. หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นครไชยศรี นครปฐม, ๗. หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, ๘. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร, ๙. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม, ๑๐. หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา, ๑๑. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา, ๑๒.หลวงปู่แขก วัดบางปลา สมุทรสาคร, ๑๓. หลวงปู่เม่ง วัดบางสะแกใน ธนบุรี, ๑๔. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง (ทับทิมเสก), ๑๕. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี, ๑๖. หลวงปู่ชุ่ม วัดขนอนเหนือ อยุธยา, ๑๗. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ อยุธยา, ๑๘. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม, ๑๙. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี, ๒๐. หลวงพ่อสาย วัดขนอนใต้ อยุธยา, ๒๑. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา, ๒๒. หลวงพ่อบุญเทียม วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี, ๒๓. พระอาจารย์ชอบ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม., ๒๔. หลวงพ่อผล วัดหนังบางขุนเทียน กทม., ๒๕ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา, ๒๖, หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง (ทับทิมเสก), ๒๗. พระราชธรรมโมลี วัดเขาพระงาม ลพบุรี, ๒๘. พระอาจารย์ชุมพล วัดมงคลคีรีธัมโมทัย ระยอง, ๒๙. อาจารย์รอด สุขเจริญทรัพย์, ๓๐. พระอาจารย์สร้อย วัดเลียบราษฎร์บำรุง ดุสิต กทม. , ๓๑. พระอาจารย์สมภพ วัดสาลีโข นนทบุรี, ๓๒. ทรายเสกหลวงพ่อพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา
                ผงเสก ๑. ผงพุทธคุณสมเด็จจิตรลดา (จากวัดบวรนิเวศวิหาร), ๒. ผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม, ๓. ผงหลวงปู่ทวด รุ่นแรก จากอาจารย์ทิม วัดช้างให้, ๔. ผลหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโก บางคลาน พิจิตร, ๕. ผงลูกอม หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา มีนบุรี กทม., ๖. ผงพระหลวงปู่นาค วัดมฤคทายวัน ประจวบคีรีขันธ์, ๗. ผงรักจากรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม, ๘. ผงมหานิยมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์, ๙. ผงพระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี, ๑๐. ผงเสกหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง, ๑๑. ผงอิทธิเจ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา, ๑๒. ข้าวเสกหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, ๑๓. ผงเสกหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี, ๑๔. ผงไตรมาส ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทร์ฯ กทม., ๑๕. ผงอิทธิเจ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กทม., ๑๖. ผงเสก อาจารย์ปลอด วัดหลวง ลพบุรี
                ได้นำเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคล “คุ้มเกล้าฯ” ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๖ - ๙ เมษายน ๒๕๒๗ ถึง ๔ วัน ๔ คืน ครั้งสุดท้าย เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ปรโม ของหลวงพ่อเริ่ม ณ วัดจุกกะเฌอ ศรีราชา ชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๗
                ผู้สร้างคือ คุณอนันต์ สวัสดิสวนีย์ ได้ถวายพระนามพระกริ่งนี้ว่า พระกริ่งปรโมปฐวีธาตุ
 

 

go home

 

 

 
Free Web Hosting